ผู้จัดทำ

           สมาชิกในกลุ่ม 

1.นายธนิสรณ์ เพชรสำรวล           เลขที่ 6
2.นงาสาวซัสนีย์ เกปัน                  เลขที่ 18
3.นางสาวศิริวรรณ สาเล๊ะ             เลขที่ 24
4.นางสาวนุสรา เหมมุน                   เลขที่ 25
5.นางสาวศิธภัสสร ชูติระกะ          เลขที่ 30
6.นางสาวณัชวา โต๊ะประดู่            เลขที่ 31
7.นางสาวไคริกา วิจิตรเวชการ      เลขที่ 33
             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7
  โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ จังหวัดสตูล
ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 56


1.ระบบเศรษฐกิจแบผสมมีข้อดีเหนือระบบเศร็ฐกิจแบบสังคมนิยมในข้อใดเพราะเหตุใด
1.ประสิทธิภาพการผลิตสูงกว่า เพราะมีการแข่งขันประกอบธุรกิจ
2.เศรษฐกิจมีเสถียรภาพสูงกว่า เพราะใช้กลไกลราคาจัดสรรปัจจัยการผลิต
3.การผูกขาดการผลิตหมดไป เพราะรัฐบาลให้เอกชนผลิตแข่งขันกับรัญบาลได้
4.เอกชนมีเสรีภาพในการตัดสินใจทางธุรกิจ เพราะรัฐบาลไม่ดำเนินธุรกิจแข่งขันกับเอกชน
5.การกระจายรายได้เท่าเทียมกันมากกว่า เพราะรัฐบาลสามารถใช้มาตรการทางภาษีและรายจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปคำตอบ
ทั้งนี้เพรำะประสิทธิภาพการผลิต หมายถึง การที่ผู้ผลิตเลือกใช้ต้นทุนการผลิตให้น้อยที่สุด แต่จะต้องไปบริหารจัดการเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมเอกชนจะสามารถแข่งขันกันอย่างเสรีได้มากกว่าระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมอยู่แล้ว ในการแข่งขันเพื่อให้สินค้ำและบริการของตนแข่งขันได้ เอกชนจะต้องพัฒนาคุณภาพสินค้ำของตน ผ่านกำรบริหารจัดการด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งนี้ต้องทำให้การใช้ต้นทุนมีน้อยเพื่อให้ได้ผลตอบแทน (ในรูปกำไร) มาก สินค้าและบริการของตนจึงสามารถแข่งขันได้ หากไม่เป็นเช่นนั้น ก็แน่นอนว่าเอกชนหรือผู้ผลิตรายนั้นจะต้องพ่ายแพ้จากการแข่งขันและหลุดออกไปจากตลาดแน่นอน

2.ตลาดผูกขาดก่อให้เกิดผลดีแก่สังคมอย่างไร เพราะเหตุใด
1.ตั้งราคาสินค้าได้ต่ำ เพราะเป็นการตั้งราคาตามทุน
2.ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำ เพราะเป็นการผลิตขนาดใหญ่
3.สนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทั่งถึง เพราะผลิตจำนวนมาก
4.ไม่ต้องเสียทรัพยากรในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพราะไม่มีคู่แข่ง
5.ทำรายได้ให้รัฐบาลมาก เพราะมีกำไรสูงจึงต้องจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราสูง
สรุปคำตอบ
สรุปแล้วผลดีของตลาดผูกขาดต่อสังคมจะตรงกับ ตัวเลือกที่ 5 ทำรายได้ให้รัฐบาลมาก เพราะมีกำไรสูงจึงต้องจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราสูง เหตุผลนี้เป็นความจริงที่เลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากภาษีคือเงินที่รัฐจะนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ และตลาดผูกขาดก็สามารถทำกำไรได้มากที่สุดจริง เนื่องจากเป็นผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการรายเดียวในตลาดจึงไม่จำเป็นต้องแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับใครทั้งสิ้น รายได้จึงเป็นของตนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อรายได้มีมาก ฐานภาษีเงินได้ที่จะต้องจ่ายจึงต้องมากตามเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผูกขาดโดยเอกชนหรือโดยรัฐบาลล้วนแต่ต้องจ่ายภาษีหมด ในกรณีที่ผูกขาดโดยรัฐบาล เช่น การไฟฟ้ำ การประป บรรดา CEO ที่บริหารกิจการก็ล้วนแต่ต้องจ่ายภาษีคืนกลับให้รัฐทั้งสิ้น ไม่ได้มีข้อยกเว้นทำงภาษีแต่อย่างใด

3.การกำหนดค่าจ้างขั้นสูงต่ำขึ้นเป็นวันล่ะ 300 บาท ทำให้เกิดผลดีต่อสังคมอย่างไร
1.การลงทุนในต่างประเทศสูงขึ้น
2.การใช้จ่ายบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น
3.อุปทานของแรงงานที่มีทักษะเพิ่มขึ้น
4.แรงงานไทยต้องการทำงานในประเทศเพิ่มขึ้น
5.แรงงานในอาชีพต่างๆมีรายได้เท่าเทียมกันมากขึ้น
สรุปคำตอบ
เราจึงสรุปได้ว่า ตัวเลือกที่ 5 แรงงานในอาชีพต่างๆ มีรายได้เท่าเทียมกันมากขึ้น เป็นผลดีต่อสังคมจำกนโยบายกำหนดค่าจ้าง 300 บาท ทั้งนี้เพราะแม้ก่อนหน้านี้จะมีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำกันแล้ว แต่นายจ้างก็มักไม่ได้จ่ายค่าจ้างตามค่ำจ้างขั้นต่ำตามจริงเสมอไป การจ่ายก็ไม่ได้ครอบคลุมกว้างขวางเท่านโยบาย 300 บาท ที่รัฐบาลนามาใช้ใหม่นี้ ด้วยเหตุนี้เราจึงพบว่า พวกนายจ้างระดับรายย่อย เช่น ร้านค้ำเล็กๆ พวกจ้างแม่บ้าน หรือพวกจ้างคนต่างด้าว ก็เลี่ยงจะไม่จ่ายตรงตามค่ำจ้างขั้นต่ำที่กำหนดมามากนัก ความเหลื่อมล้ำระหว่างแรงงำนกลุ่มต่ำงๆ จึงมีมาก นอกจากนี้ในการกำหนดค่าจ้างสมัยก่อน จะต้องเป็นการตกลงกันระหว่าง ตัวแทนนายจ้าง ตัวแทนลูกจ้าง และรัฐบาล แต่พอกำหนดทีไรก็ต่ำเกินค่ำครองชีพ สร้างความลำบากในการดำรงชีวิตของลูกจ้างทุกครั้ง นโยบายใหม่นี้จึงเป็นเท่ากับเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ลูกจ้างมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทุกกลุ่มมีความเท่าเทียม

4.สังคมไทยไม่ได้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงข้อใดมากที่สุดจึงทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540
1.การวางแผนล่วงหน้า
2.การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน
3.ความอดทนหมั่นเพียร
4.การดำเนินทางสายกลาง
5.การใช้สติปัญญาแก้ปัญหา
สรุปคำตอบ
ทั้งนี้เนื่องจากทางสายกลางถือเป็นหนึ่งในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่หลักปฏิบัติในตัวเลือกอื่นๆ ไม่สัมพันธ์กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง (ตามหลัก 3 ห่วง-หลักการ 2 เงื่อนไข) และก็เป็นความจริงที่ว่าการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยก่อนปี พ.. 2540 ขาดการประเมินความเสี่ยง มุ่งเน้นแต่ตัวเลขให้โตเร็วๆ ไม่ดำเนินเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมุ่งเน้นไปที่ฐานรากทางเศรษฐกิจของประเทศ คือ ภาคเกษตรกรรม ให้พวกเขามีความรู้ สามารถพึ่งพำตนเองได้ และให้มีการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจรวมถึงอุตสาหกรรมต่ำงๆ ในเมือง (ภาคธุรกิจในเมืองก็ควรศึกษาผลกระทบจากการลงทุนต่ำงๆ ไม่ควรเร่งพัฒนาอย่างสุดโต่งจนขาดการประเมินความเสี่ยง) กำรกระทำเช่นนี้แม้อาจช้ำแต่ผลที่ได้ย่อมยั่งยืนมากกว่า

5.ชุมชนที่ต้องการพึ่งตนเองและช่วยเหลือกันด้านเงินทุนในการใช้จ่ายเมื่อมีความจำเป็น ควรจัดตั้งสหกรณ์ประเถทใดมากที่สุด
1.สหกรณ์นิคม
2.สหกรณ์ร้านค้า
3.สหกรณ์บริการ
4.สหกรณ์การเกษตร
5.สหกรณ์ออมทรัพย์
สรุปคำตอบ
ชุมชนที่ต้องการพึ่งตนเองและช่วยเหลือกันด้านเงินทุนในการใช้จ่ายเมื่อมีความจำเป็น ควรจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ (ตัวเลือกที่ 5) ทั้งนี้เพรใะหัวใจของสหกรณ์ออมทรัพย์ อยู่ที่การเป็นสถานบันการเงินที่สมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของ และบริหารงานโดยสมาชิก มีจุดประสงค์ในการระดมเงินออมและช่วยเหลือสมาชิกผ่านการให้สินเชื่อที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ไม่เน้นที่กำไรเป็นสำคัญ (เป็นไปตามหลักสหกรณ์ทั่วไป) ดังนั้นหากเทียบกับสหกรณ์ในตัวเลือกอื่นๆ แล้ว สหกรณ์ออมทรัพย์จึงเป็นสหกรณ์ที่ตรงตามสถานการณ์ที่โจทย์กำหนดมามากที่สุด

6.ข้อใดไม่ใช่สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจในชุมชนของประเทศไทย
1.การกระจายเหลื่อมล้ำ
2.การขาดแคลนปัจจัยการผลิต
3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่าไม่สมดุล
4.การขาดแคลนบริการสาธารณูปโภค
5.การเพิ่มขึ้นของประชากรในอัตราสูง
สรุปคำตอบ
จริงอยู่ที่กำรขาดแคลนจะส่งผลบ้าง จากโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การผลิต การพัฒนา แต่หากเทียบกับสำเหตุทั้ง 4 ที่กล่าวมาในส่วนวิเคราะห์ตัวเลือกแล้ว ถือว่าสำเหตุนี้มีผลน้อยกว่า หากคนในชุมชนร่วมใจกันใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นเบื้องต้น รู้จักการจัดการพื้นที่ เช่น ขุดสระน้ำ เก็บน้ำไว้ใช้ รู้จักกรองน้ำเบื้องต้น รู้จักทำตะเกียงจุดไฟ ปัญหาจากเรื่องการขาดแคลนบริการก็พอจะแก้ไขได้ในเบื้องต้น

7.ข้อใดเป็นมาตรการของนโยบายการคลังในการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
1.การลงทุนด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
2.การส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรในท้องถิ่น
3.การจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาสวัสดิการให้ประชาชน
4.การเพิ่งวงเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาขั้นอุดมศึกษาทุกระดับ
5.การปรับปรุงอัตราภาษีได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลให้เป็นอัตราก้าวหน้ามากขึ้น
สรุปคำตอบ
ตัวเลือกที่ 1 การลงทุนด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เป็นคำตอบของโจทย์นี้ เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจก็คือตัวแปรหลักที่ส่งผลให้เกิดกำลังการผลิตขึ้น เมื่อกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นก็จะก่อให้เกิดการลงทุนต่ำงๆ ทั้งจากคนในประเทศและต่างประเทศตามมา เท่ากับเป็นการเพิ่มผลผลิตมวลรวมให้กับประเทศส่งผลต่อไปที่รายได้ประชำชนชำติซึ่งเป็นตัวชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะเพิ่มขึ้นตาม

8.ข้อใดเป็นมาตรการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการรักษาเถียรภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
1.ขยายช่วงกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ
2.เปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย
3.เปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
4.เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน
5.เปลี่ยนแปลงเป้าหมายอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
สรุปคำตอบ

การขยายช่วงกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ในตัวเลือกที่ 1 ทั้งนี้กรอบดังกล่ำวจะต้องอาศัยแบบจำลองในกำรมองสถานการณ์ไปข้างหน้ำ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้นำกรอบนี้มาใช้ตั้งแต่ปี พ.. 2543 แทนที่การใช้เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน และเป้าหมายปริมาณเงิน ตามลำดับ โดยปกติแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดกรอบอัตราให้อยู่ในระดับ 0.5-3.0 ต่อปี ทั้งนี้หากตัวเลขน้อยเกินไป ก็อำจส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืดได้ (อัตราเงินเฟ้อ จะวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งหมายถึงระดับราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยหักรายการสินค้าหมวดอาหารและพลังงานซึ่งสองกลุ่มหลังนี้มีความผันผวนด้านราคา)

9.ในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนได้มีการตกลงกันล่วงหน้าว่าจะให้ประเทศใดมีจุดเด่นในสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์ยางและสิ่งทอ
1.ประเทศไทย
2.ประเทศมาเลเซีย
3.ประเทศเวียดนาม
4.ประเทศฟิลิปปินส์
5.ประเทศอินโดนีเซีย
สรุปคำตอบ
พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร และสาขาประมง
มาเลเซีย สำขำผลิตภัณฑ์ยาง และสำขำสิ่งทอ
อินโดนีเซีย สำขำยานยนต์ และสำขำผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ สำขำอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ สำขำเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ไทย สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน
เวียดนำม สำขำโลจิสติกส์ (เกี่ยวข้องกับด้ำนกำรคมนำคมขนส่ง โดยสำขำนี้จะเพิ่มภำยหลังจำก 11 สำขำในตอนแรก)



ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 56

1 วิชาเศรษฐศาสตร์มีความสำคัญละเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานอย่างไร (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 56)                   1. วิคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคเพื่อกำหนดการผลิตในปริมาณที่เหมาะส
                   2.วิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจเพื่อใช้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม
                   3.วิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจให้ประชาชนทราบเพื่อให้ประชาชนร่วมมือต่อส่วนรวม
                   4.วิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจเพื่อกำหนดแนวทางการจัดบริการสาธารณูปโภคให้เหมาะสม
เฉลย 2

2. คำว่าการกระจายรายได้ให้เท่าเทียมกันหมายความว่าแต่ละครัวเรือนในประเทศจะเป็นอย่างไร  (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 56)
                      1.ควรจะมีรายได้เฉลี่ยเท่ากัน
                      2.ควรจะมีรายได้เท่ากัน
                      3.ควรจะมีรายได้ใกล้เคียงกัน
                      4.ควรจะมีการกินดีอยู่ดีใกล้เคียงกัน
เฉลย 4

3.ในปีที่แล้ว นายประกอบมีรายรับจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้ คือขายรถเก่า 500,000 บาท ดอกเบี้ยเงินฝาก 200,000 ค่าเช่าที่ดิน100,000 บาท เงินค่าขายหุ้นธนาคารพาณิชย์ 50,000 บาท และกำไรจากกิจการที่ทำอยู่ 80,000 บาท ให้คำนวณหาผลตอบแทนที่ได้รับในฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต  (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 56)
                1. 930,000 บาท
                2. 430,000 บาท
                3. 380,000 บาท
                4. 350,000 บาท
เฉลย 3

4.การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ จะทำให้ เกิดผลอย่างไร  (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 56)
                1.ผู้ผลิตเสียต้นทุนในการผลิตต่ำสุด
                2.
ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ในราคาถูกที่สุด
                3.สังคมได้รับสวัสดิการสูงสุด
                4.รัฐบาลเก็บภาษีได้มากที่สุ
เฉลย 1

5.ครูที่สอนหนังสือนักเรียน ประกอบกิจกรรมเศรษฐกิจใด  (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 56)
                1.ผลิตนักเรียนให้มีความรู้
                2.บริโภคเพราะมีความพอใจ
                3.ผลิตบริการให้นักเรียน
                4.ลงทุนโดยสละเวลาเพื่ออนาคตของนักเรียน
เฉลย 3

6.รายการใดไม่รวมอยู่ในรายได้ประชาชาติของไทย  (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 56)
                1.วิศวกรไทยได้รับค่าจ้างตอบแทนการควบคุมงานก่อสร้างในประเทศซาอุดิอารเบียจากบริษัทรับเหมาของชาวญี่ปุ่น
                 2.เจ้าของที่ดินบนเกาะภูเก็ตได้รับค่าเช่าจากการให้เช่าที่ดินเพื่อสร้างสนามกอล์ฟจากนักลงทุนชาวยุโรป
                 3.บริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยจากการเปิดบัญชีเงินฝากในประเทศสวิสเซอร์แลนด์
                 4 .ธุรกิจไทยจ่ายเงินส่วนหนึ่งจากผลกำไรเพื่ออุดหนุนพรรคการเมืองไทยที่สนับสนุนการลงทุนในประเทศจีน

เฉลย 4

แนวข้อสอบทั่วไปวิชาเศรษฐศาสตร์

1.ตลาดผูกขาดก่อให้เกิดผลดีแก่สังคมอย่างไร เพราะเหตุใด
1.ตั้งราคาสินค้าได้ต่ำ เพราะเป็นการตั้งราคาตามทุน
2.ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำ เพราะเป็นการผลิตขนาดใหญ่
3.สนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทั่งถึง เพราะผลิตจำนวนมาก
4.ไม่ต้องเสียทรัพยากรในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพราะไม่มีคู่แข่ง
5.ทำรายได้ให้รัฐบาลมาก เพราะมีกำไรสูงจึงต้องจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราสูง
สรุปคำตอบ
สรุปแล้วผลดีของตลาดผูกขาดต่อสังคมจะตรงกับ ตัวเลือกที่ 5 ทำรายได้ให้รัฐบาลมาก เพราะมีกำไรสูงจึงต้องจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราสูง เหตุผลนี้เป็นความจริงที่เลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากภาษีคือเงินที่รัฐจะนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ และตลาดผูกขาดก็สามารถทำกำไรได้มากที่สุดจริง เนื่องจากเป็นผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการรายเดียวในตลาดจึงไม่จำเป็นต้องแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับใครทั้งสิ้น รายได้จึงเป็นของตนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อรายได้มีมาก ฐานภาษีเงินได้ที่จะต้องจ่ายจึงต้องมากตามเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผูกขาดโดยเอกชนหรือโดยรัฐบาลล้วนแต่ต้องจ่ายภาษีหมด ในกรณีที่ผูกขาดโดยรัฐบาล เช่น การไฟฟ้ำ การประป บรรดา CEO ที่บริหารกิจการก็ล้วนแต่ต้องจ่ายภาษีคืนกลับให้รัฐทั้งสิ้น ไม่ได้มีข้อยกเว้นทำงภาษีแต่อย่างใด

2.การกำหนดค่าจ้างขั้นสูงต่ำขึ้นเป็นวันล่ะ 300 บาท ทำให้เกิดผลดีต่อสังคมอย่างไร
1.การลงทุนในต่างประเทศสูงขึ้น
2.การใช้จ่ายบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น
3.อุปทานของแรงงานที่มีทักษะเพิ่มขึ้น
4.แรงงานไทยต้องการทำงานในประเทศเพิ่มขึ้น
5.แรงงานในอาชีพต่างๆมีรายได้เท่าเทียมกันมากขึ้น
สรุปคำตอบ
เราจึงสรุปได้ว่า ตัวเลือกที่ 5 แรงงานในอาชีพต่างๆ มีรายได้เท่าเทียมกันมากขึ้น เป็นผลดีต่อสังคมจำกนโยบายกำหนดค่าจ้าง 300 บาท ทั้งนี้เพราะแม้ก่อนหน้านี้จะมีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำกันแล้ว แต่นายจ้างก็มักไม่ได้จ่ายค่าจ้างตามค่ำจ้างขั้นต่ำตามจริงเสมอไป การจ่ายก็ไม่ได้ครอบคลุมกว้างขวางเท่านโยบาย 300 บาท ที่รัฐบาลนามาใช้ใหม่นี้ ด้วยเหตุนี้เราจึงพบว่า พวกนายจ้างระดับรายย่อย เช่น ร้านค้ำเล็กๆ พวกจ้างแม่บ้าน หรือพวกจ้างคนต่างด้าว ก็เลี่ยงจะไม่จ่ายตรงตามค่ำจ้างขั้นต่ำที่กำหนดมามากนัก ความเหลื่อมล้ำระหว่างแรงงำนกลุ่มต่ำงๆ จึงมีมาก นอกจากนี้ในการกำหนดค่าจ้างสมัยก่อน จะต้องเป็นการตกลงกันระหว่าง ตัวแทนนายจ้าง ตัวแทนลูกจ้าง และรัฐบาล แต่พอกำหนดทีไรก็ต่ำเกินค่ำครองชีพ สร้างความลำบากในการดำรงชีวิตของลูกจ้างทุกครั้ง นโยบายใหม่นี้จึงเป็นเท่ากับเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ลูกจ้างมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทุกกลุ่มมีความเท่าเทียม

3.สังคมไทยไม่ได้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงข้อใดมากที่สุดจึงทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540
1.การวางแผนล่วงหน้า
2.การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน
3.ความอดทนหมั่นเพียร
4.การดำเนินทางสายกลาง
5.การใช้สติปัญญาแก้ปัญหา
สรุปคำตอบ
ทั้งนี้เนื่องจากทางสายกลางถือเป็นหนึ่งในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่หลักปฏิบัติในตัวเลือกอื่นๆ ไม่สัมพันธ์กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง (ตามหลัก 3 ห่วง-หลักการ 2 เงื่อนไขและก็เป็นความจริงที่ว่าการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยก่อนปี พ.. 2540 ขาดการประเมินความเสี่ยง มุ่งเน้นแต่ตัวเลขให้โตเร็วๆ ไม่ดำเนินเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมุ่งเน้นไปที่ฐานรากทางเศรษฐกิจของประเทศ คือ ภาคเกษตรกรรม ให้พวกเขามีความรู้ สามารถพึ่งพำตนเองได้ และให้มีการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจรวมถึงอุตสาหกรรมต่ำงๆ ในเมือง (ภาคธุรกิจในเมืองก็ควรศึกษาผลกระทบจากการลงทุนต่ำงๆ ไม่ควรเร่งพัฒนาอย่างสุดโต่งจนขาดการประเมินความเสี่ยงกำรกระทำเช่นนี้แม้อาจช้ำแต่ผลที่ได้ย่อมยั่งยืนมากกว่า

4.ชุมชนที่ต้องการพึ่งตนเองและช่วยเหลือกันด้านเงินทุนในการใช้จ่ายเมื่อมีความจำเป็น ควรจัดตั้งสหกรณ์ประเถทใดมากที่สุด
1.สหกรณ์นิคม
2.สหกรณ์ร้านค้า
3.สหกรณ์บริการ
4.สหกรณ์การเกษตร
5.สหกรณ์ออมทรัพย์
สรุปคำตอบ
ชุมชนที่ต้องการพึ่งตนเองและช่วยเหลือกันด้านเงินทุนในการใช้จ่ายเมื่อมีความจำเป็น ควรจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ (ตัวเลือกที่ 5) ทั้งนี้เพรใะหัวใจของสหกรณ์ออมทรัพย์ อยู่ที่การเป็นสถานบันการเงินที่สมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของ และบริหารงานโดยสมาชิก มีจุดประสงค์ในการระดมเงินออมและช่วยเหลือสมาชิกผ่านการให้สินเชื่อที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ไม่เน้นที่กำไรเป็นสำคัญ (เป็นไปตามหลักสหกรณ์ทั่วไปดังนั้นหากเทียบกับสหกรณ์ในตัวเลือกอื่นๆ แล้ว สหกรณ์ออมทรัพย์จึงเป็นสหกรณ์ที่ตรงตามสถานการณ์ที่โจทย์กำหนดมามากที่สุด

5.ข้อใดไม่ใช่สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจในชุมชนของประเทศไทย
1.การกระจายเหลื่อมล้ำ
2.การขาดแคลนปัจจัยการผลิต
3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่าไม่สมดุล
4.การขาดแคลนบริการสาธารณูปโภค
5.การเพิ่มขึ้นของประชากรในอัตราสูง
สรุปคำตอบ
จริงอยู่ที่กำรขาดแคลนจะส่งผลบ้าง จากโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การผลิต การพัฒนา แต่หากเทียบกับสำเหตุทั้ง 4 ที่กล่าวมาในส่วนวิเคราะห์ตัวเลือกแล้ว ถือว่าสำเหตุนี้มีผลน้อยกว่า หากคนในชุมชนร่วมใจกันใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นเบื้องต้น รู้จักการจัดการพื้นที่ เช่น ขุดสระน้ำ เก็บน้ำไว้ใช้ รู้จักกรองน้ำเบื้องต้น รู้จักทำตะเกียงจุดไฟ ปัญหาจากเรื่องการขาดแคลนบริการก็พอจะแก้ไขได้ในเบื้องต้น

6.ข้อใดเป็นมาตรการของนโยบายการคลังในการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
1.การลงทุนด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
2.การส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรในท้องถิ่น
3.การจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาสวัสดิการให้ประชาชน
4.การเพิ่งวงเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาขั้นอุดมศึกษาทุกระดับ
5.การปรับปรุงอัตราภาษีได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลให้เป็นอัตราก้าวหน้ามากขึ้น
สรุปคำตอบ
ตัวเลือกที่ 1 การลงทุนด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เป็นคำตอบของโจทย์นี้ เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจก็คือตัวแปรหลักที่ส่งผลให้เกิดกำลังการผลิตขึ้น เมื่อกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นก็จะก่อให้เกิดการลงทุนต่ำงๆ ทั้งจากคนในประเทศและต่างประเทศตามมา เท่ากับเป็นการเพิ่มผลผลิตมวลรวมให้กับประเทศส่งผลต่อไปที่รายได้ประชำชนชำติซึ่งเป็นตัวชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะเพิ่มขึ้นตาม

7.ข้อใดเป็นมาตรการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการรักษาเถียรภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
1.ขยายช่วงกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ
2.เปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย
3.เปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
4.เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน
5.เปลี่ยนแปลงเป้าหมายอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
สรุปคำตอบ
การขยายช่วงกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ในตัวเลือกที่ 1 ทั้งนี้กรอบดังกล่ำวจะต้องอาศัยแบบจำลองในกำรมองสถานการณ์ไปข้างหน้ำ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้นำกรอบนี้มาใช้ตั้งแต่ปี พ.. 2543 แทนที่การใช้เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน และเป้าหมายปริมาณเงิน ตามลำดับ โดยปกติแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดกรอบอัตราให้อยู่ในระดับ 0.5-3.0 ต่อปี ทั้งนี้หากตัวเลขน้อยเกินไป ก็อำจส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืดได้ (อัตราเงินเฟ้อ จะวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งหมายถึงระดับราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยหักรายการสินค้าหมวดอาหารและพลังงานซึ่งสองกลุ่มหลังนี้มีความผันผวนด้านราคา)

แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 

1.  สุเมทเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามจำนวนทุกปี การกระทำของสุเมท เป็นบทบาทหน้าที่ของพลเมืองดีในด้านใด (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.   ด้านการกุศล                        2.   ด้านการเมือง
3.   ด้านเศรษฐกิจ                       4.   ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ตอบ 3. เพราะการเสียภาษีอากรถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของพลเมืองที่ดี เพราะภาษีอากรเปรียบเสมือนรายได้หลักของประเทศ ซึ่งรัฐจะสามารถนำเงินภาษีที่จัดเก็บได้ไปพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า เพื่อเศรษฐกิจมีการขับเคลื่อนอย่างเต็มที่

2.ข้อใดเป็นปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของทุกประเทศ (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.      คุณภาพของผลผลิต การกระจายสินค้าและบริการ ต้นทุนการผลิต
2.      การเลือกผลิตสินค้าและบริการ ต้นทุนการผลิต การขาดแคลนเงินทุน
3.      การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ การขาดแคลนเงินทุน การเลือกวิธีการผลิต
4.      การเลือกผลิตสินค้าและบริการ การเลือกวิธีการผลิต การกระจายสินค้าและบริการ
ตอบ 4. ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลกันระหว่างความต้องการสินค้าและบริการมาสนองความต้องการของมนุษย์กับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ทุกประเทศต้องประสบ ซึ่งได้แก่ จะผลิตอะไร จำนวนเท่าไหร่ จะผลิตอย่างไร จะผลิตเพื่อใคร จะกระจายหรือจัดสินค้าและบริการที่ผลิตนี้ไปยังบุคคลต่างๆ ในสังคมอย่างไร

3. “สามารถแก้ไขความไม่ยุติธรรมในสังคมได้มาก และลดช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างประชาชนในชาติ” เป็นข้อดีของระบบเศรษฐกิจในข้อใด (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.   ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม      
2.   ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
3.   ระบบเศรษฐกิจแบบผสม          
4.   เศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเข้าไปควบคุมดำเนินการผลิต เน้นการจัดสวัสดิการให้ประชาชน ทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรและรายได้ที่เป็นธรรม มีความเท่าเทียมกัน สามารถลดช่องว่างทางเศรษฐกิจของประชาชนได้

4. “เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน มีอิสระในการกำหนดราคาผลผลิตทางการเกษตรของตนเอง แต่เมื่อราคาผลผลิตตกต่ำ เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน ภาครัฐต้องเข้าไปแทรกแซง โดยการประกันราคาพืชผล” เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจแบบใด  (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.   ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม       2.   ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
3.   ระบบเศรษฐกิจแบบผสม           4.   เศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นการนำเอาลักษณะบางอย่างของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมมาผสมผสานกัน ซึ่งในกรณีนี้ประชาชนสามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการนั้น คือ เกษตรกรสามารถเป็นเจ้าของที่ดิน และสามารถกำหนดราคาเองได้ โดยเป็นไปตามกลไกราคา แต่ในบางกรณีรัฐบาลจะเข้าไปแทรกแซงราคาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

5. ข้อใดเป็นความได้เปรียบของระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่มีเหนือระบบเศรษฐกิจแบบอื่น (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.      บทบาทของรัฐบาลและเอกชนในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
2.      รัฐบาลและเอกชนต่างมีบทบาทในทางการค้าและการลงทุนได้ทัดเทียมกัน
3.      รัฐบาลและเอกชนต่างร่วมกันจัดสวัสดิการตามความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น
4.      รัฐบาลและเอกชนสามารถใช้กลไกราคาเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจประกอบธุรกิจ
ตอบ 4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม โดยมากรัฐจะเป็นผู้บริหารทรัพยากรในส่วนสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา ส่วนเอกชนจะเป็นผู้บริหารในส่วนสินค้าและบริการทั่วไป ซึ่งระบบเศรษฐกิจแบบผสมจะมีความได้เปรียบในด้านการใช้กลไกราคาในการตัดสินใจประกอบธุรกิจ หรือส่งเสริมบรรยากาศการค้าการลงทุน ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ

6. การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านการขนส่ง จัดอยู่ในระบบตลาดแบบใด  (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.   ตลาดผูกขาด                       
2.   ตลาดกึ่งผูกขาด
3.   ตลาดผู้ขายน้อยราย               
4.   ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
ตอบ 1. การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านการขนส่งภายในประเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีเอกชนเข้าร่วมการแข่งขัน ดังนั้นการบริหารงานดังกล่าวจึงจัดอยู่ในประเภทตลาดผูกขาด

7. หากร้านจัดดอกไม้รับพนักงานที่จบสาขาคหกรรมในระดับปริญญาตรีเข้าทำงานและต้องจ้างในอัตราเงินเดือน เดือนละ 15,000 บาท ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ตามข้อใด  (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.   อุปสงค์เพิ่ม                          2.   อุปสงค์ลด
3.   อุปทานเพิ่ม                         4.   อุปทานลด
ตอบ  4. อุปทานลด เนื่องจากอัตราเงินเดือนดังกล่าวถือเป็นต้นทุนการผลิตอย่างหนึ่งที่ร้านจัดดอกไม้ต้องรับผิดชอบ ส่งผลทำให้เจ้าของธุรกิจดังกล่าวไม่มีความต้องการแรงงานในกลุ่มนี้ อาจจะรับสมัครบุคคลที่จบเพียงระดับชั้น ม.6 เข้าทำงาน เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างตามที่รัฐกำหนด

8. ปัจจัยในข้อใดส่งผลให้ผู้ผลิตตัดสินใจเพิ่มปริมาณการผลิต  (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.      ธนาคารปรับเพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้
2.      ปรับอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเพิ่มขึ้น
3.      ราคาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตลดต่ำลง
4.      ราคาของสินค้าที่ทดแทนกันได้ลดต่ำลง
ตอบ  3. การที่ราคาวัตถุดิบลดลง ต้นทุนการผลิตก็ลดลง ผู้ผลิตได้กำไรมากขึ้น จึงมีแรงจูงใจให้มีการผลิตเพิ่มขึ้น แต่หากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้น ได้กำไรน้อยลง ไม่เป็นแรงจูงใจในการเพิ่มการผลิต และหากราคาสินค้าที่ทดแทนกันได้ราคาต่ำลง ทำให้ราคาสินค้านั้นต่ำลงด้วย        ไม่เป็นแรงจูงใจในการผลิตสินค้า

9. ณ ระดับราคาดุลยภาพ ปรากฏว่าชาวไร่อ้อยเดือดร้อน จึงทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องเข้าช่วยหลือโดยกำหนดราคาประกัน ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง  (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.      รัฐบาลจะต้องรับซื้ออ้อยส่วนเกินจากชาวไร่อ้อย
2.      ชาวไร่อ้อยจะต้องจัดสรรโควตาขายให้โรงงานน้ำตาล
3.      โรงงานน้ำตาลจะซื้ออ้อยได้ในราคาต่ำกว่าราคาดุลยภาพ
4.      โรงงานน้ำตาลจะรวมตัวกันต่อรองราคารับซื้ออ้อยในราคาตลาด
ตอบ  1. ณ ระดับราคาดุลยภาพที่กำหนดราคาอ้อยที่ขายอยู่ในตลาดส่งผลกระทบต่อเกษตรกร รัฐบาลต้องเข้าไปรับซื้ออ้อยส่วนเกินจากเกษตรกร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร หลังจากนั้น รัฐอาจนำสินค้าเก็บไว้ ณ ที่ใดที่หนึ่งและเมื่อถึงช่วงเวลาที่ตลาดมีความต้องการสินค้ารัฐก็สามารถนำสินค้าเสนอขายในราคาที่เป็นไปตามกลไกราคาของตลาดได้

10. การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในภาคอุตสาหกรรม ทำให้ประเทศไทยต้องประสบปัญหาใดในปัจจุบัน เพราะเหตุใด  (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.      ดุลการชำระเงินขาดดุล เพราะต้องใช้เงินตราต่างประเทศมากขึ้นในการนำเข้าเทคโนโลยี
2.      ผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมีราคาสูงขึ้น เพราะผู้ผลิตมีอำนาจผูกขาดในการกำหนดราคามากขึ้น
3.      มลพิษทางอากาศและทางน้ำ เพราะเกิดจากการผลิตและการบริโภคสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น
4.      ขาดแคลนบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพราะขาดงบประมาณในการพัฒนาการศึกษา
ตอบ 3. การนำเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อพัฒนาการผลิตในภาคอุตสาหกรรมถือเป็นผลดีในการเพิ่มปริมาณผลผลิต และควบคุมสินค้าให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน แต่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมตามมา

11. เกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาใดให้เกษตรกร  (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.      การสูญเสียที่ดินทำกิน
2.      การหาช่องทางขยายตลาด
3.      การขาดการรวมกลุ่มเพื่อผลิตสินค้า
4.      การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจได้ผลผลิตน้อย
ตอบ  1. เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการจัดการกับที่ดินทำกินให้สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินของตน ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเพื่อการพึ่งพาตนเองได้ โดยการแบ่งที่ดินออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ขุดสระเก็บกักน้ำ ส่วนที่ 2 ปลูกข้าว ส่วนที่ 3 ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ส่วนที่ 4 ให้เป็นพื้นที่สร้างที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์

12. หลักการสหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องกันในเรื่องใด  (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.      การยึดแนวทางการพึ่งตนเอง
2.      การร่วมมือร่วมใจกันในสังคมระดับท้องถิ่น
3.      การบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4.      การทำกิจกรรมเศรษฐกิจเฉพาะกับสมาชิกหรือคนในชุมชนเดียวกัน
ตอบ  1. สอดคล้องกันในเรื่องการยึดแนวทางการพึ่งตนเอง โดยหลักการของสหกรณ์ เป็นองค์กรที่พึ่งตนเอง ดำรงความเป็นอิสระ เอื้ออาทรต่อชุมชน ส่วนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เน้นวิธีการผลิตแบบพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพาระบบตลาด ลดการพึ่งพาการใช้สารเคมี ลดการพึ่งพาเงินกู้ และลดการพึ่งพาซื้อสินค้าจากสังคมภายนอก เน้นการเป็นผู้ผลิตเพื่อการบริโภคในชุมชน

13. การดำเนินงานของสหกรณ์ข้อใดที่แสดงให้เห็นถึงการนำหลักประชาธิปไตยมาใช้  (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.      ดำเนินงานโดยอิสระ
2.      จดทะเบียนนิติบุคคล
3.      เปิดรับสมาชิกด้วยความสมัครใจ
4.      ไม่ว่าจะถือหุ้นกี่หุ้นก็ออกเสียงได้เพียง เสียง
ตอบ  2.สมาชิกสหกรณ์ทุกคนมีความเสมอภาคกัน ไม่ว่าจะถือหุ้นกี่หุ้นก็ออกเสียงได้เพียง 1 เสียง หรือ “one man one vote” หมายความว่า การออกเสียงในทุกเรื่องของสหกรณ์ สมาชิกมีสิทธิออกเสียงเพียงคนละ 1 เสียงเท่านั้น
14. ข้อใดแสดงว่าเงินทำหน้าที่ในการวัดมูลค่า (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.      ส้มมีเงินแค่ 20 บาท ซื้อข้าวสารได้ไม่ถึง กิโลกรัม
2.      อ้อยเขียนเช็คส่วนตัวซื้อนาฬิกาข้อมือ เรือน ราคาเรือนละ 30,000 บาท
3.      โอนำธนบัตรไทยชนิดราคา 100 บาท ไปแลกธนบัตรราคา 50 บาท ได้ ใบ
4.      น้อยซื้อโทรทัศน์ เครื่อง โดยการผ่อนชำระ งวด งวดละ 10,000 บาท
ตอบ  2. เงินมีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การที่อ้อยเขียนเช็คส่วนตัวซื้อนาฬิกาข้อมือ 1 เรือน เรือนละ 30,000 บาท แสดงว่าเงินทำหน้าที่ในการวัดมูลค่าของสินค้า

15. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างธนบัตรใบละ 1,000 บาท กับสร้อยคอทองคำหนัก บาท สินทรัพย์ใดมีสภาพคล่องสูงกว่า เพราะเหตุใด  (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.      ธนบัตร เพราะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปต้องการ
2.      ธนบัตร เพราะนำไปแลกกับสิ่งอื่นๆ ได้ทันที
3.      สร้อยคอทองทำ เพราะสามารถนำไปขายต่อได้รวดเร็ว
4.      สร้อยคอทองคำ เพราะมีมูลค่าสูงกว่าธนบัตร 1,000 บาท
ตอบ  2. ธนบัตรมีสภาพคล่องสูงกว่าสร้อยคอทองคำ เพราะสามารถนำไปแลกกับสิ่งอื่นๆ ได้ทันที เนื่องจากเงินเป็นธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมากที่สุด สามารถนำไปแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว โดยไม่ต้องมีต้นทุนในการแลกเปลี่ยน ส่วนสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท แม้จะมีมูลค่าสูงกว่า ธนบัตร 1,000 บาท แต่ไม่สะดวกที่จะนำไปซื้อสินค้าต่างๆ เหมือนเงินหรือธนบัตร

16. ถ้าปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจอย่างไร (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.   การลงทุนลดลง                    
2.   อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
3.   มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น          
4.   เอกชนสามารถลงทุนได้อย่างเสรี
ตอบ  3. การที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยลดลง การจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ประชาชนมีเงินจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น ผลผลิตและรายได้โดยรวมของประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย

17. สภาพการณ์ใดบ่งบอกว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในระบบเศรษฐกิจ (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )     
1.      ประชาชนมีรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น
2.      สินค้าและบริการต่างๆ มีราคาสูงขึ้น
3.      อำนาจซื้อของเงินที่มีอยู่ในมือของประชาชนลดลง
4.      เงินจำนวนเท่าเดิมไม่สามารถซื้อสินค้าและบริการตามที่ต้องการได้
ตอบ 3. ภาวะเงินเฟ้อ เป็นภาวะที่อำนาจซื้อของเงินที่มีอยู่ในมือของประชาชนลดลง กล่าวคือ การที่มีจำนวนเงินเท่าเดิมแต่ซื้อสินค้าได้น้อยลง เนื่องจากการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับสินค้ามีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะเงินเฟ้อ

18. การดำเนินการในข้อใดช่วยแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อได้  (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.      ลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย
2.      ธนาคารกลางประกาศรับซื้อคืนพันธบัตร
3.      เพิ่มอัตราซื้อลดตั๋วเงินจากธนาคารพาณิชย์
4.      ผ่อนคลายการกำกับแผนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
ตอบ  3. เมื่อเกิดปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางจะกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไข โดยเพิ่มอัตราซื้อลดตั๋วเงินจากธนาคารพาณิชย์ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ได้กำไรน้อยลง จึงไม่อยากรับซื้อตั๋วเงินจากลูกค้าอีกต่อไป ส่งผลให้ปริมาณหมุนเวียนของเงินตราในระบบลดลงด้วย เพราะพ่อค้าต้องถือตั๋วเงินไว้ไม่สามารถใช้เป็นเงินสดได้จนกว่าตั๋วเงินจะครบสัญญาจ่ายเงินจากผู้ซื้อสินค้า เท่ากับเป็นการลดอำนาจซื้อของผู้บริโภค มาตรการนี้จึงช่วยแก้ไขปัญหาได้

19. ถ้าคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นต่อไปอีก ธนาคารกลางจะต้องดำเนินมาตรการใดเพื่อชะลอเงินเฟ้อ  (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.      ลดอัตราค่าจ้าง
2.      ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
3.      ขึ้นอัตราภาษีดอกเบี้ยเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์
4.      ขึ้นอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากธนาคารพาณิชย์
ตอบ  4. ธนาคารกลางจะใช้มาตรการขึ้นอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากธนาคารพาณิชย์เพื่อชะลอเงินเฟ้อ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางขึ้นอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ธนาคารพาณิชย์จะกู้เงินลดลง ดังนั้น เงินสดสำรองจึงลดลง ธนาคารพาณิชย์สามารถขยายสินเชื่อได้น้อยลง ปริมาณเงินซึ่งรวมถึงเงินฝากจึงลดลง เงินเฟ้อจะลดลงหรือชะลอลงได้

20. ถ้าเกิดสภาวะเงินฝืดจะส่งผลต่อประชาชนอย่างไร  (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.   ประชาชนใช้จ่ายเงินมากขึ้น       
2.   ประชาชนเสียภาษีให้รัฐมากขึ้น
3.   ประชาชนมีอัตราการว่างงานสูง  
4.   ประชาชนมีเงินหมุนเวียนในมือสูง
ตอบ 3. การเกิดสภาวะเงินฝืดทำให้เงินออมในระบบมีน้อย เนื่องจากประชาชนมีเงินน้อย ทำให้สถาบันการเงินปล่อยเงินกู้เพื่อธุรกิจน้อย ในขณะที่ธุรกิจชะลอการผลิตลง เนื่องจากราคาสินค้าถูกลงและขาดแคลนเงินทุน ส่งผลกระทบจากการจ้างงานที่ลดลง ทำให้คนต้องตกงาน เศรษฐกิจหดตัว อำนาจซื้อของคนจึงมีน้อย

21. ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลควรมีมาตรการทางการคลังอย่างไร (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.      เก็บภาษีเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มเงินคงคลัง
2.      ใช้จ่ายให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการผลิต
3.      กู้ยืมน้อยลง เพื่อลดภาระงบประมาณ
4.      ชะลอการปล่อยสินเชื่อ เพื่อลดหนี้ของประชาชน
ตอบ  2. ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการผลิต เนื่องจากในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การผลิต การค้าขาย และการลงทุนทำธุรกิจต่างๆ อยู่ในสภาพซบเซา มีการจ้างงานน้อย มีคนว่างงานมาก ประชาชนมีกำลังซื้อน้อย รัฐบาลควรใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว โดยลดอัตราภาษีอากร (เพิ่มอำนาจซื้อให้ประชาชน) หรือ เพิ่มรายจ่ายของรัฐบาลให้มากขึ้น โดยทำงบประมาณขาดดุล (ตั้งงบรายจ่ายให้สูงกว่ารายได้) เน้นพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่ง การชลประทาน และการสาธารณูปโภค เป็นต้น

22. ข้อใดแสดงว่าประเทศมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )    
1.      สัดส่วนของคนยากจนต่อประชากรลดลง
2.      รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงขึ้น
3.      ประชากรมีสินค้าที่ผลิตจากเทคโนโลยีสมัยใหม่บริโภคมากขึ้น
4.      ประเทศประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม
ตอบ  2. รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงขึ้นโดยประเทศที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจากสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (รายได้ประชาชาติ) สูงขึ้นทุกปี ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเพิ่มสูงขึ้นด้วย จึงเป็นเครื่องชี้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ

23. ข้อใดถือว่าเป็นมาตรการของนโยบายการค้าเสรี  (แนวข้อสอบ O-NET วิชา สังคมศึกษา ปี 56 )   
     1.      เก็บภาษีขาเข้าในอัตราต่ำ
2.      ให้เงินอุดหนุนผู้ผลิตในประเทศ
3.      ไม่เก็บภาษีสินค้าที่ส่งไปขายประเทศยากจน
4.      ให้นำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ ได้ทุกชนิด

ตอบ  1. นโยบายการค้าเสรี คือ การค้าที่ไม่มีการกีดกันทางการค้ากับประเทศคู่ค้า เช่น โดยไม่เก็บภาษีคุ้มกัน เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศแต่คงเก็บภาษีศุลกากรในอัตราต่ำ เพื่อเป็นรายได้ของรัฐ เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศให้เหลือน้อยที่สุด