แนวข้อสอบทั่วไปวิชาเศรษฐศาสตร์

1.ตลาดผูกขาดก่อให้เกิดผลดีแก่สังคมอย่างไร เพราะเหตุใด
1.ตั้งราคาสินค้าได้ต่ำ เพราะเป็นการตั้งราคาตามทุน
2.ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำ เพราะเป็นการผลิตขนาดใหญ่
3.สนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทั่งถึง เพราะผลิตจำนวนมาก
4.ไม่ต้องเสียทรัพยากรในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพราะไม่มีคู่แข่ง
5.ทำรายได้ให้รัฐบาลมาก เพราะมีกำไรสูงจึงต้องจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราสูง
สรุปคำตอบ
สรุปแล้วผลดีของตลาดผูกขาดต่อสังคมจะตรงกับ ตัวเลือกที่ 5 ทำรายได้ให้รัฐบาลมาก เพราะมีกำไรสูงจึงต้องจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราสูง เหตุผลนี้เป็นความจริงที่เลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากภาษีคือเงินที่รัฐจะนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ และตลาดผูกขาดก็สามารถทำกำไรได้มากที่สุดจริง เนื่องจากเป็นผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการรายเดียวในตลาดจึงไม่จำเป็นต้องแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับใครทั้งสิ้น รายได้จึงเป็นของตนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อรายได้มีมาก ฐานภาษีเงินได้ที่จะต้องจ่ายจึงต้องมากตามเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผูกขาดโดยเอกชนหรือโดยรัฐบาลล้วนแต่ต้องจ่ายภาษีหมด ในกรณีที่ผูกขาดโดยรัฐบาล เช่น การไฟฟ้ำ การประป บรรดา CEO ที่บริหารกิจการก็ล้วนแต่ต้องจ่ายภาษีคืนกลับให้รัฐทั้งสิ้น ไม่ได้มีข้อยกเว้นทำงภาษีแต่อย่างใด

2.การกำหนดค่าจ้างขั้นสูงต่ำขึ้นเป็นวันล่ะ 300 บาท ทำให้เกิดผลดีต่อสังคมอย่างไร
1.การลงทุนในต่างประเทศสูงขึ้น
2.การใช้จ่ายบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น
3.อุปทานของแรงงานที่มีทักษะเพิ่มขึ้น
4.แรงงานไทยต้องการทำงานในประเทศเพิ่มขึ้น
5.แรงงานในอาชีพต่างๆมีรายได้เท่าเทียมกันมากขึ้น
สรุปคำตอบ
เราจึงสรุปได้ว่า ตัวเลือกที่ 5 แรงงานในอาชีพต่างๆ มีรายได้เท่าเทียมกันมากขึ้น เป็นผลดีต่อสังคมจำกนโยบายกำหนดค่าจ้าง 300 บาท ทั้งนี้เพราะแม้ก่อนหน้านี้จะมีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำกันแล้ว แต่นายจ้างก็มักไม่ได้จ่ายค่าจ้างตามค่ำจ้างขั้นต่ำตามจริงเสมอไป การจ่ายก็ไม่ได้ครอบคลุมกว้างขวางเท่านโยบาย 300 บาท ที่รัฐบาลนามาใช้ใหม่นี้ ด้วยเหตุนี้เราจึงพบว่า พวกนายจ้างระดับรายย่อย เช่น ร้านค้ำเล็กๆ พวกจ้างแม่บ้าน หรือพวกจ้างคนต่างด้าว ก็เลี่ยงจะไม่จ่ายตรงตามค่ำจ้างขั้นต่ำที่กำหนดมามากนัก ความเหลื่อมล้ำระหว่างแรงงำนกลุ่มต่ำงๆ จึงมีมาก นอกจากนี้ในการกำหนดค่าจ้างสมัยก่อน จะต้องเป็นการตกลงกันระหว่าง ตัวแทนนายจ้าง ตัวแทนลูกจ้าง และรัฐบาล แต่พอกำหนดทีไรก็ต่ำเกินค่ำครองชีพ สร้างความลำบากในการดำรงชีวิตของลูกจ้างทุกครั้ง นโยบายใหม่นี้จึงเป็นเท่ากับเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ลูกจ้างมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทุกกลุ่มมีความเท่าเทียม

3.สังคมไทยไม่ได้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงข้อใดมากที่สุดจึงทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540
1.การวางแผนล่วงหน้า
2.การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน
3.ความอดทนหมั่นเพียร
4.การดำเนินทางสายกลาง
5.การใช้สติปัญญาแก้ปัญหา
สรุปคำตอบ
ทั้งนี้เนื่องจากทางสายกลางถือเป็นหนึ่งในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่หลักปฏิบัติในตัวเลือกอื่นๆ ไม่สัมพันธ์กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง (ตามหลัก 3 ห่วง-หลักการ 2 เงื่อนไขและก็เป็นความจริงที่ว่าการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยก่อนปี พ.. 2540 ขาดการประเมินความเสี่ยง มุ่งเน้นแต่ตัวเลขให้โตเร็วๆ ไม่ดำเนินเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมุ่งเน้นไปที่ฐานรากทางเศรษฐกิจของประเทศ คือ ภาคเกษตรกรรม ให้พวกเขามีความรู้ สามารถพึ่งพำตนเองได้ และให้มีการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจรวมถึงอุตสาหกรรมต่ำงๆ ในเมือง (ภาคธุรกิจในเมืองก็ควรศึกษาผลกระทบจากการลงทุนต่ำงๆ ไม่ควรเร่งพัฒนาอย่างสุดโต่งจนขาดการประเมินความเสี่ยงกำรกระทำเช่นนี้แม้อาจช้ำแต่ผลที่ได้ย่อมยั่งยืนมากกว่า

4.ชุมชนที่ต้องการพึ่งตนเองและช่วยเหลือกันด้านเงินทุนในการใช้จ่ายเมื่อมีความจำเป็น ควรจัดตั้งสหกรณ์ประเถทใดมากที่สุด
1.สหกรณ์นิคม
2.สหกรณ์ร้านค้า
3.สหกรณ์บริการ
4.สหกรณ์การเกษตร
5.สหกรณ์ออมทรัพย์
สรุปคำตอบ
ชุมชนที่ต้องการพึ่งตนเองและช่วยเหลือกันด้านเงินทุนในการใช้จ่ายเมื่อมีความจำเป็น ควรจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ (ตัวเลือกที่ 5) ทั้งนี้เพรใะหัวใจของสหกรณ์ออมทรัพย์ อยู่ที่การเป็นสถานบันการเงินที่สมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของ และบริหารงานโดยสมาชิก มีจุดประสงค์ในการระดมเงินออมและช่วยเหลือสมาชิกผ่านการให้สินเชื่อที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ไม่เน้นที่กำไรเป็นสำคัญ (เป็นไปตามหลักสหกรณ์ทั่วไปดังนั้นหากเทียบกับสหกรณ์ในตัวเลือกอื่นๆ แล้ว สหกรณ์ออมทรัพย์จึงเป็นสหกรณ์ที่ตรงตามสถานการณ์ที่โจทย์กำหนดมามากที่สุด

5.ข้อใดไม่ใช่สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจในชุมชนของประเทศไทย
1.การกระจายเหลื่อมล้ำ
2.การขาดแคลนปัจจัยการผลิต
3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่าไม่สมดุล
4.การขาดแคลนบริการสาธารณูปโภค
5.การเพิ่มขึ้นของประชากรในอัตราสูง
สรุปคำตอบ
จริงอยู่ที่กำรขาดแคลนจะส่งผลบ้าง จากโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การผลิต การพัฒนา แต่หากเทียบกับสำเหตุทั้ง 4 ที่กล่าวมาในส่วนวิเคราะห์ตัวเลือกแล้ว ถือว่าสำเหตุนี้มีผลน้อยกว่า หากคนในชุมชนร่วมใจกันใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นเบื้องต้น รู้จักการจัดการพื้นที่ เช่น ขุดสระน้ำ เก็บน้ำไว้ใช้ รู้จักกรองน้ำเบื้องต้น รู้จักทำตะเกียงจุดไฟ ปัญหาจากเรื่องการขาดแคลนบริการก็พอจะแก้ไขได้ในเบื้องต้น

6.ข้อใดเป็นมาตรการของนโยบายการคลังในการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
1.การลงทุนด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
2.การส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรในท้องถิ่น
3.การจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาสวัสดิการให้ประชาชน
4.การเพิ่งวงเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาขั้นอุดมศึกษาทุกระดับ
5.การปรับปรุงอัตราภาษีได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลให้เป็นอัตราก้าวหน้ามากขึ้น
สรุปคำตอบ
ตัวเลือกที่ 1 การลงทุนด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เป็นคำตอบของโจทย์นี้ เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจก็คือตัวแปรหลักที่ส่งผลให้เกิดกำลังการผลิตขึ้น เมื่อกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นก็จะก่อให้เกิดการลงทุนต่ำงๆ ทั้งจากคนในประเทศและต่างประเทศตามมา เท่ากับเป็นการเพิ่มผลผลิตมวลรวมให้กับประเทศส่งผลต่อไปที่รายได้ประชำชนชำติซึ่งเป็นตัวชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะเพิ่มขึ้นตาม

7.ข้อใดเป็นมาตรการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการรักษาเถียรภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
1.ขยายช่วงกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ
2.เปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย
3.เปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
4.เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน
5.เปลี่ยนแปลงเป้าหมายอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
สรุปคำตอบ
การขยายช่วงกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ในตัวเลือกที่ 1 ทั้งนี้กรอบดังกล่ำวจะต้องอาศัยแบบจำลองในกำรมองสถานการณ์ไปข้างหน้ำ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้นำกรอบนี้มาใช้ตั้งแต่ปี พ.. 2543 แทนที่การใช้เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน และเป้าหมายปริมาณเงิน ตามลำดับ โดยปกติแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดกรอบอัตราให้อยู่ในระดับ 0.5-3.0 ต่อปี ทั้งนี้หากตัวเลขน้อยเกินไป ก็อำจส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืดได้ (อัตราเงินเฟ้อ จะวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งหมายถึงระดับราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยหักรายการสินค้าหมวดอาหารและพลังงานซึ่งสองกลุ่มหลังนี้มีความผันผวนด้านราคา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น