ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 56


1.ระบบเศรษฐกิจแบผสมมีข้อดีเหนือระบบเศร็ฐกิจแบบสังคมนิยมในข้อใดเพราะเหตุใด
1.ประสิทธิภาพการผลิตสูงกว่า เพราะมีการแข่งขันประกอบธุรกิจ
2.เศรษฐกิจมีเสถียรภาพสูงกว่า เพราะใช้กลไกลราคาจัดสรรปัจจัยการผลิต
3.การผูกขาดการผลิตหมดไป เพราะรัฐบาลให้เอกชนผลิตแข่งขันกับรัญบาลได้
4.เอกชนมีเสรีภาพในการตัดสินใจทางธุรกิจ เพราะรัฐบาลไม่ดำเนินธุรกิจแข่งขันกับเอกชน
5.การกระจายรายได้เท่าเทียมกันมากกว่า เพราะรัฐบาลสามารถใช้มาตรการทางภาษีและรายจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปคำตอบ
ทั้งนี้เพรำะประสิทธิภาพการผลิต หมายถึง การที่ผู้ผลิตเลือกใช้ต้นทุนการผลิตให้น้อยที่สุด แต่จะต้องไปบริหารจัดการเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมเอกชนจะสามารถแข่งขันกันอย่างเสรีได้มากกว่าระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมอยู่แล้ว ในการแข่งขันเพื่อให้สินค้ำและบริการของตนแข่งขันได้ เอกชนจะต้องพัฒนาคุณภาพสินค้ำของตน ผ่านกำรบริหารจัดการด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งนี้ต้องทำให้การใช้ต้นทุนมีน้อยเพื่อให้ได้ผลตอบแทน (ในรูปกำไร) มาก สินค้าและบริการของตนจึงสามารถแข่งขันได้ หากไม่เป็นเช่นนั้น ก็แน่นอนว่าเอกชนหรือผู้ผลิตรายนั้นจะต้องพ่ายแพ้จากการแข่งขันและหลุดออกไปจากตลาดแน่นอน

2.ตลาดผูกขาดก่อให้เกิดผลดีแก่สังคมอย่างไร เพราะเหตุใด
1.ตั้งราคาสินค้าได้ต่ำ เพราะเป็นการตั้งราคาตามทุน
2.ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำ เพราะเป็นการผลิตขนาดใหญ่
3.สนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทั่งถึง เพราะผลิตจำนวนมาก
4.ไม่ต้องเสียทรัพยากรในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพราะไม่มีคู่แข่ง
5.ทำรายได้ให้รัฐบาลมาก เพราะมีกำไรสูงจึงต้องจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราสูง
สรุปคำตอบ
สรุปแล้วผลดีของตลาดผูกขาดต่อสังคมจะตรงกับ ตัวเลือกที่ 5 ทำรายได้ให้รัฐบาลมาก เพราะมีกำไรสูงจึงต้องจ่ายภาษีเงินได้ในอัตราสูง เหตุผลนี้เป็นความจริงที่เลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากภาษีคือเงินที่รัฐจะนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ และตลาดผูกขาดก็สามารถทำกำไรได้มากที่สุดจริง เนื่องจากเป็นผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการรายเดียวในตลาดจึงไม่จำเป็นต้องแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับใครทั้งสิ้น รายได้จึงเป็นของตนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อรายได้มีมาก ฐานภาษีเงินได้ที่จะต้องจ่ายจึงต้องมากตามเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผูกขาดโดยเอกชนหรือโดยรัฐบาลล้วนแต่ต้องจ่ายภาษีหมด ในกรณีที่ผูกขาดโดยรัฐบาล เช่น การไฟฟ้ำ การประป บรรดา CEO ที่บริหารกิจการก็ล้วนแต่ต้องจ่ายภาษีคืนกลับให้รัฐทั้งสิ้น ไม่ได้มีข้อยกเว้นทำงภาษีแต่อย่างใด

3.การกำหนดค่าจ้างขั้นสูงต่ำขึ้นเป็นวันล่ะ 300 บาท ทำให้เกิดผลดีต่อสังคมอย่างไร
1.การลงทุนในต่างประเทศสูงขึ้น
2.การใช้จ่ายบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น
3.อุปทานของแรงงานที่มีทักษะเพิ่มขึ้น
4.แรงงานไทยต้องการทำงานในประเทศเพิ่มขึ้น
5.แรงงานในอาชีพต่างๆมีรายได้เท่าเทียมกันมากขึ้น
สรุปคำตอบ
เราจึงสรุปได้ว่า ตัวเลือกที่ 5 แรงงานในอาชีพต่างๆ มีรายได้เท่าเทียมกันมากขึ้น เป็นผลดีต่อสังคมจำกนโยบายกำหนดค่าจ้าง 300 บาท ทั้งนี้เพราะแม้ก่อนหน้านี้จะมีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำกันแล้ว แต่นายจ้างก็มักไม่ได้จ่ายค่าจ้างตามค่ำจ้างขั้นต่ำตามจริงเสมอไป การจ่ายก็ไม่ได้ครอบคลุมกว้างขวางเท่านโยบาย 300 บาท ที่รัฐบาลนามาใช้ใหม่นี้ ด้วยเหตุนี้เราจึงพบว่า พวกนายจ้างระดับรายย่อย เช่น ร้านค้ำเล็กๆ พวกจ้างแม่บ้าน หรือพวกจ้างคนต่างด้าว ก็เลี่ยงจะไม่จ่ายตรงตามค่ำจ้างขั้นต่ำที่กำหนดมามากนัก ความเหลื่อมล้ำระหว่างแรงงำนกลุ่มต่ำงๆ จึงมีมาก นอกจากนี้ในการกำหนดค่าจ้างสมัยก่อน จะต้องเป็นการตกลงกันระหว่าง ตัวแทนนายจ้าง ตัวแทนลูกจ้าง และรัฐบาล แต่พอกำหนดทีไรก็ต่ำเกินค่ำครองชีพ สร้างความลำบากในการดำรงชีวิตของลูกจ้างทุกครั้ง นโยบายใหม่นี้จึงเป็นเท่ากับเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ลูกจ้างมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทุกกลุ่มมีความเท่าเทียม

4.สังคมไทยไม่ได้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงข้อใดมากที่สุดจึงทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540
1.การวางแผนล่วงหน้า
2.การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน
3.ความอดทนหมั่นเพียร
4.การดำเนินทางสายกลาง
5.การใช้สติปัญญาแก้ปัญหา
สรุปคำตอบ
ทั้งนี้เนื่องจากทางสายกลางถือเป็นหนึ่งในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่หลักปฏิบัติในตัวเลือกอื่นๆ ไม่สัมพันธ์กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง (ตามหลัก 3 ห่วง-หลักการ 2 เงื่อนไข) และก็เป็นความจริงที่ว่าการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยก่อนปี พ.. 2540 ขาดการประเมินความเสี่ยง มุ่งเน้นแต่ตัวเลขให้โตเร็วๆ ไม่ดำเนินเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมุ่งเน้นไปที่ฐานรากทางเศรษฐกิจของประเทศ คือ ภาคเกษตรกรรม ให้พวกเขามีความรู้ สามารถพึ่งพำตนเองได้ และให้มีการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจรวมถึงอุตสาหกรรมต่ำงๆ ในเมือง (ภาคธุรกิจในเมืองก็ควรศึกษาผลกระทบจากการลงทุนต่ำงๆ ไม่ควรเร่งพัฒนาอย่างสุดโต่งจนขาดการประเมินความเสี่ยง) กำรกระทำเช่นนี้แม้อาจช้ำแต่ผลที่ได้ย่อมยั่งยืนมากกว่า

5.ชุมชนที่ต้องการพึ่งตนเองและช่วยเหลือกันด้านเงินทุนในการใช้จ่ายเมื่อมีความจำเป็น ควรจัดตั้งสหกรณ์ประเถทใดมากที่สุด
1.สหกรณ์นิคม
2.สหกรณ์ร้านค้า
3.สหกรณ์บริการ
4.สหกรณ์การเกษตร
5.สหกรณ์ออมทรัพย์
สรุปคำตอบ
ชุมชนที่ต้องการพึ่งตนเองและช่วยเหลือกันด้านเงินทุนในการใช้จ่ายเมื่อมีความจำเป็น ควรจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ (ตัวเลือกที่ 5) ทั้งนี้เพรใะหัวใจของสหกรณ์ออมทรัพย์ อยู่ที่การเป็นสถานบันการเงินที่สมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของ และบริหารงานโดยสมาชิก มีจุดประสงค์ในการระดมเงินออมและช่วยเหลือสมาชิกผ่านการให้สินเชื่อที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ไม่เน้นที่กำไรเป็นสำคัญ (เป็นไปตามหลักสหกรณ์ทั่วไป) ดังนั้นหากเทียบกับสหกรณ์ในตัวเลือกอื่นๆ แล้ว สหกรณ์ออมทรัพย์จึงเป็นสหกรณ์ที่ตรงตามสถานการณ์ที่โจทย์กำหนดมามากที่สุด

6.ข้อใดไม่ใช่สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจในชุมชนของประเทศไทย
1.การกระจายเหลื่อมล้ำ
2.การขาดแคลนปัจจัยการผลิต
3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่าไม่สมดุล
4.การขาดแคลนบริการสาธารณูปโภค
5.การเพิ่มขึ้นของประชากรในอัตราสูง
สรุปคำตอบ
จริงอยู่ที่กำรขาดแคลนจะส่งผลบ้าง จากโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การผลิต การพัฒนา แต่หากเทียบกับสำเหตุทั้ง 4 ที่กล่าวมาในส่วนวิเคราะห์ตัวเลือกแล้ว ถือว่าสำเหตุนี้มีผลน้อยกว่า หากคนในชุมชนร่วมใจกันใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นเบื้องต้น รู้จักการจัดการพื้นที่ เช่น ขุดสระน้ำ เก็บน้ำไว้ใช้ รู้จักกรองน้ำเบื้องต้น รู้จักทำตะเกียงจุดไฟ ปัญหาจากเรื่องการขาดแคลนบริการก็พอจะแก้ไขได้ในเบื้องต้น

7.ข้อใดเป็นมาตรการของนโยบายการคลังในการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
1.การลงทุนด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
2.การส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรในท้องถิ่น
3.การจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาสวัสดิการให้ประชาชน
4.การเพิ่งวงเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาขั้นอุดมศึกษาทุกระดับ
5.การปรับปรุงอัตราภาษีได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลให้เป็นอัตราก้าวหน้ามากขึ้น
สรุปคำตอบ
ตัวเลือกที่ 1 การลงทุนด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เป็นคำตอบของโจทย์นี้ เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจก็คือตัวแปรหลักที่ส่งผลให้เกิดกำลังการผลิตขึ้น เมื่อกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นก็จะก่อให้เกิดการลงทุนต่ำงๆ ทั้งจากคนในประเทศและต่างประเทศตามมา เท่ากับเป็นการเพิ่มผลผลิตมวลรวมให้กับประเทศส่งผลต่อไปที่รายได้ประชำชนชำติซึ่งเป็นตัวชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะเพิ่มขึ้นตาม

8.ข้อใดเป็นมาตรการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการรักษาเถียรภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
1.ขยายช่วงกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ
2.เปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย
3.เปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
4.เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน
5.เปลี่ยนแปลงเป้าหมายอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
สรุปคำตอบ

การขยายช่วงกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ในตัวเลือกที่ 1 ทั้งนี้กรอบดังกล่ำวจะต้องอาศัยแบบจำลองในกำรมองสถานการณ์ไปข้างหน้ำ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้นำกรอบนี้มาใช้ตั้งแต่ปี พ.. 2543 แทนที่การใช้เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน และเป้าหมายปริมาณเงิน ตามลำดับ โดยปกติแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดกรอบอัตราให้อยู่ในระดับ 0.5-3.0 ต่อปี ทั้งนี้หากตัวเลขน้อยเกินไป ก็อำจส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืดได้ (อัตราเงินเฟ้อ จะวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งหมายถึงระดับราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยหักรายการสินค้าหมวดอาหารและพลังงานซึ่งสองกลุ่มหลังนี้มีความผันผวนด้านราคา)

9.ในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนได้มีการตกลงกันล่วงหน้าว่าจะให้ประเทศใดมีจุดเด่นในสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์ยางและสิ่งทอ
1.ประเทศไทย
2.ประเทศมาเลเซีย
3.ประเทศเวียดนาม
4.ประเทศฟิลิปปินส์
5.ประเทศอินโดนีเซีย
สรุปคำตอบ
พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร และสาขาประมง
มาเลเซีย สำขำผลิตภัณฑ์ยาง และสำขำสิ่งทอ
อินโดนีเซีย สำขำยานยนต์ และสำขำผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ สำขำอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ สำขำเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ไทย สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน
เวียดนำม สำขำโลจิสติกส์ (เกี่ยวข้องกับด้ำนกำรคมนำคมขนส่ง โดยสำขำนี้จะเพิ่มภำยหลังจำก 11 สำขำในตอนแรก)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น